วันพุธที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2552

แหล่งน้ำ


ปัญหาน้ำเน่าเสีย
น้ำเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีคุณค่ามหาศาล น้ำมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ สัตว์ และพืชถ้าขาดน้ำเมื่อใดก็เป็นการยากที่มนุษย์สัตว์และพืชจะดำรงชีวิตอยู่ได้นาน ดังนั้นตั้งแต่สมัยโบราณ จนถึงปัจจุบันเราจะพบว่ามนุษย์ทุกหมู่ สัตว์และพืชจะดำรงชีวิตอยู่ได้นานดังนั้นตั้งแตทุกเหล่า ทุกเผ่าพันธุ์ เลือกตั้งถิ่นฐานอยู่ใกล้น้ำ น้ำธรรมชาติมีอยู่ทั่วไปทั้งบนผิวดิน ใต้ดิน และในบรรยากาศ น้ำบนผิวดินเป็นแหล่งน้ำที่เราจะพบมากที่สุด ได้แก่ แม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง ห้วย ลำธาร ทะเลสาบ ทะเล และมหาสมุทร ส่วนน้ำใต้ดินมีแตกต่างกันเป็น 2 ประเภท คือ น้ำในดิน และน้ำบาดาล ถ้าเราขุดบ่อลงไปบริเวณแหล่งน้ำในดิน เราเรียกบ่อน้ำชนิดนี้ว่า บ่อน้ำในดิน และถ้าขุดบ่อลึกลงไปมาก ๆ หรือใต้ชั้นหินจนถึงระดับน้ำบาดาล เราเรียกบ่อน้ำชนิดนี้ว่า บ่อน้ำบาดาล น้ำธรรมชาติที่มีส่วนเกี่ยวพันกับความเป็นอยู่ของมนุษย์ สัตว์ และความเจริญของพืชพันธุ์ ได้แก่ น้ำบนผิวดิน ในแต่ละวัน คนเราต้องใช้น้ำจำนวนมากทั้งในด้านการอุปโภค บริโภค การประกอบอาชีพ เช่น การประมง เกษตรกรรมและอุตสาหกรรม เป็นต้น ดังนั้นจึงจำเป็นต้องช่วยกันรักษาแหล่งน้ำธรรมชาติเหล่านี้ให้สะอาดอยู่เสมอ หากปล่อยให้มีสิ่งสกปรก เช่น ขยะ หรือน้ำทิ้ง ลงปะปนอยู่ในน้ำธรรมชาติ ก็จะทำให้แหล่งน้ำนั้นกลายเป็นน้ำเสียในภายหลัง เมื่อแหล่งน้ำดีกลายเป็นน้ำเสีย ก็จะเป็นอันตรายต่อชีวิตความเป็นอยู่ของคน พืช และสัตว์ ไม่เฉพาะแต่พื้นที่เดียวเท่านั้น อาจขยายบริเวณภยันตรายกว้างไกลออกไปทั้งชุมชนละแวกนั้น ๆ ได้ คุณประโยชน์อีกอย่างหนึ่งของน้ำคือ อาชีพทางน้ำ น้ำเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์ทั้งในด้านการอุปโภคและบริโภค
http://www.baanmaha.com/community
แม่น้ำที่กว้างที่สุดในโลก
แม่น้ำแอมะซอน ในบราซิลทวีปอเมริกาใต้ ปากแม่น้ำกว้าง 272 กิโลเมตร มีความยาว 6,400 กิโลเมตร และได้รับฉายาให้เป็น
แม่น้ำไนล์เป็นแม่น้ำที่มีความยาวที่สุดในโลกและไหลผ่านทะเลทรายซาฮารา
น้ำเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับมนุษย์และสัตว์ในการดำรงชีวิต การใช้น้ำบนโลกได้เพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณทุกวัน เพราะจำนวนประชากรโลกที่เพิ่มขึ้นและการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมที่ใช้น้ำเป็นปัจจัยสำคัญในการผลิตสินค้า รวมทั้งการใช้น้ำในภาคเกษตรกรรม โดยทั่วไปแหล่งน้ำตามธรรมชาติแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ น้ำฟ้า (atmospheric water) น้ำผิวดิน (surface water) และน้ำใต้ดิน (subsurface water) น้ำฟ้าที่ตกลงมาสู่ผิวโลกจะถูกกักเก็บเป็นน้ำในแม่น้ำ ลำคลอง ทะเลสาบ และมหาสมุทร ซึ่งก็คือน้ำผิวดิน น้ำผิวดินบางส่วนจะไหลซึมลงสู่ใต้ดิน ไปถูกกักเก็บไว้ในชั้นดินและหิน เกิดเป็นน้ำใต้ดินต่อไป
น้ำที่อยู่บนพื้นผิวโลก เมื่อรวมกันแล้วจะมีปริมาณทั้งสิ้น 1,360 ล้านลูกบาศก์กิโลเมตร โดยเป็นน้ำเค็มที่อยู่ในมหาสมุทรถึงร้อยละ 97 ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 3 หรือประมาณ 37 ล้านลูกบาศก์กิโลเมตร เป็นน้ำจืด (ยศ สันตสมบัติ, 2537: ) ซึ่งน้ำจืดส่วนใหญ่ประมาณ 3 ใน 4 เป็นน้ำแข็งอยู่ในบริเวณขั้วโลก แหล่งน้ำจืดได้กระจายอยู่ตามบริเวณต่างๆ บนพื้นโลก ที่สำคัญที่สุด คือ น้ำฝน เมื่อฝนตกลงมาบางส่วนของน้ำฝนจะถูกนำไปใช้โดยพืช บางส่วนจะซึมลงในดินกลายเป็นน้ำใต้ดิน บางส่วนจะเหลือค้างอยู่บนผิวดิน ซึ่งสามารถพบน้ำบนผิวดินได้ในบึง หนอง สระ ทะเลสาบ และแม่น้ำลำธาร (วิริยะ สิริสิงห, 2537:) นักธรณีวิทยาได้ประมาณว่ามีน้ำอยู่ในชั้นใต้ดินประมาณ 8 ล้านลูกบาศก์กิโลเมตรในแม่น้ำลำธารและทะเลสาบมีน้ำอยู่ประมาณ 0.126 ล้านลูกบาศก์กิโลเมตร (ยศ สันตสมบัติ, 2537: )